1.ส่งเสริม สนับสนุน ควบคุม ดูแลให้อาคารสถานที่ของสถานบริการสุขภาพและหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้คุณภาพมาตรฐานด้วยการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมด้านการออกแบบ อำนวยการและควบคุมคุณภาพการก่อสร้างอาคาร ให้ได้มาตรฐานทางวิชาชีพสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล และให้คำปรึกษาทางวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมด้านอาคารประเภทสถานพยาบาลและอาคารเกี่ยวเนื่องให้ได้มาตรฐานทางวิชาชีพ สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3.วิเคราะห์ วิจัย กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ด้านอาคารสถานที่ ของสถานบริการสุขภาพและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน ทางวิชาชีพ สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง4.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

เมื่อเกิดความสงสัยในกำลังอัดคอนกรีตในตัวโครงสร้าง ไม่ว่ามาจากสาเหตุของผลทดสอบก้อนคอนกรีตตัวอย่างที่ให้ค่าต่ำเกิดรอยร้าวในโครงสร้าง หรือต้องการทราบความแข็งแรงของโครงสร้างเก่า เราจึงควรทำการตรวจสอบความแข็งแรงของคอนกรีตในโครงสร้าง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามที่วิศวกรโครงสร้างได้กำหนดหรือใช้ในการออกแบบ หากทำตามขั้นตอนทางวิศวกรรม ควรเลือกวิธีที่ไม่ทำลายโครงสร้างก่อน อาทิ การตรวจสอบด้วยวิธีวัดความต้านทานการเจาะ ( Penetration Resistance Test ) ตามมาตรฐาน ASTMC803 วิธีการสะท้อน (Rebound Test) ตามมาตรฐาน ASTMC805 วิธีหาความเร็วคลื่น โดยการยิงคลื่นความถี่ใต้เสียง (Ultrasonic Pulse Velocity Test) ตามมาตรฐาน ASTMC597 เมื่อทดสอบโดยวิธีไม่ทำลายแล้วได้ผลทดสอบที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จึงใช้วิธีทดสอบแบบทำลายเช่น วิธีดึงให้หลุด (Pullout Test) ตามมาตรฐาน ASTMC900 วิธีเจาะ หรือตัดคอนกรีตและนำไปทดสอบ (Drilled Cores and Sawed Beams) ตามมาตรฐาน ASTMC42 ซึ่งใช้หาได้ทั้งค่ากำลังอัด (Compressive Strength ตามมาตรฐาน ASTMC39) กำลังดึงแบบผ่ากลางในแนวราบ (Splitting Tensile Strength ตามมาตรฐาน ASTMC496) และค่าแรงดัด (Flexural Strength ตามมาตรฐาน ASTMC78) และเมื่อผลทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ จึงใช้วิธีทดสอบโดยแบกน้ำหนัก(Load Tests of Concrete Structures) ตามมาตรฐาน ACI 437.1R-07 ซึ่งเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์จึงเข้าสู่กระบวนการอื่นต่อไป โดยควรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของวิศวกรโครงสร้างว่าจะเสริมกำลังหรือรื้อและสร้างใหม่ ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกำลังอัดของก้อนคอนกรีตตัวอย่าง และก้อนคอนกรีตจากโครงสร้างที่ได้มาจากการเจาะ (Core Sample)นั้น โดยปกติก้อน Core จะมีกำลังอัดเฉลี่ยที่น้อยกว่า ยกเว้นกรณีที่เทคอนกรีตบนพื้นรองที่ดูดซับน้ำได้ ซึ่งจะส่งผลให้คอนกรีตบริเวณข้างบนมีปริมาณน้ำลดลง และการเทคอนกรีตในฐานรากขนาดใหญ่ซึ่งมีความร้อนสูง ทั้งสองกรณีนี้อาจทำให้กำลังอัดของก้อน Core สูงกว่า การที่ก้อน Core ให้คำกำลังอัดที่ต่ำกว่านี้เป็นเรื่องที่วิศวกรยอมรับได้ จึงได้กำหนดไว้ใน ACI 318 ว่าด้วยการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะคอนกรีตในโครงสร้างผ่านกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่การขนถ่าย การเท การจี้ การเขย่า และยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้กำลังอัดต่ำ ดังนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้กำลังอัดต่ำ 1.สภาพแวดล้อม เนื่องจากคอนกรีตโครงสร้างขาดการบ่ม หรือมีการบ่มที่ด้อยกว่าคอนกรีตตัวอย่างที่ถูกบ่มอย่างสมบูรณ์ตามมาตรฐานเป็นเวลาเกือบ 1 เดือน ก้อน Croe จึงให้กำลังอัดที่ต่ำกว่า 2.เหล็กเสริมแนวขวาง บางครั้งการเจาะไม่สามารถหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่มีเหล็กเสริมได้หากก้อน Core มีเหล็กเสริมในแนวนอนก็จะส่งผลในกำลังอัดลดลง 5-15 คือจะยิ่งลดลงมากเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดสูงมาก 3.แนวของการเจาะ ควรเจาะในแนวดิ่ง คือแนวที่คอนกรีตถูกจี้เขย่า การเจาะในแนวนอนไม่สามารถให้ค่ากำลังอัดที่แม่นยำได้ เพราะจำเป็นให้ซีกหนึ่งของก้อน Core มีสัดส่วนของหินมากกว่าอีกซีกหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้กำลังอัดน้อยกว่าค่าที่ควรจะได้ 4.ขนาดของมวลรวมหยาบ (หิน) เมื่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของก้อน Core น้อยกว่าสามเท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหินขนาดใหญ่ที่สุดสามารถส่งผลให้กำลังอัดลงลงได้ถึงร้อยละ 10 5.สัดส่วนระหว่างความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลาง ของก้อน Core หากไม่เท่ากับ 2 ก็จะทำให้กำลังอัดลดลง (แต่ต้องไม่มากกว่า 2 เพราะจะทำให้กำลังอัดลดลงอย่างไม่สามารถคาดการณ์ได้) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 0.95 6.อายุคอนกรีต โครงสร้างที่มีอายุมากกว่า 1 เดือนอาจมีกำลังอัดเพิ่มขึ้น มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับส่วนผสมคอนกรีต และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศโดยรอบ การทดสอบก้อน Core ที่อายุมากกว่า 28 วัน จึงไม่สามารถคาดการณ์ถึงกำลังอัดได้ 7.กระบวนการเจาะ เนื่องจากเครื่องเจาะใช้ความเร็วสูงและมีความสั่นสะเทือนมาก จึงทำให้คอนกรีตในก้อน Core เสียหายได้จึงอาจส่งผลให้กำลังอัดลดลง เพราะปัจจัยข้างต้นนี้เอง ACI 318 จึงได้กำหนดให้ก้อน Core ผ่านเกณฑ์ เมื่อมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่าร้ายละ 85 ของกำลังอัดรับรอง (f’c) หรือในกรณีนี้คือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ของกำลังอัดที่วิศวกรโครงสร้างใช้ในการออกแบบแต่ต้องไม่มีก้อน Core (ที่มีสภาพสมบูรณ์) มีค่ากำลังอัดต่ำกว่าร้อยละ 75 ของ f’c

1. เราเริ่มจากการตรวจสอบแบบก่อสร้างและวัสดุที่ใช้สำหรับก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับอาคารของลูกค้าภายหลัง 2. การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง ในกรณีที่มีผู้รับเหมาเสนอราคาหลายเจ้า เราจะทำการเปรียบเทียบผู้รับเหมาแต่ละเจ้าให้ลูกค้าได้ทราบข้อแตกต่างของผู้รับเหมา พร้อมทั้งรวมต่อรองราคาก่อนที่จะทำการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างต่อไป 3. การตรวจสอบการแบ่งงวดงาน เพื่อไม่ให้เกิดการเบิกเงินเกินงวดงาน พร้อมทั้งตรวจแผนงานของผู้รับเหมาเพื่อให้งานแล้วเสร็จตามกำหนดและไม่ให้งานล่าช้า 4. เมื่อเริ่มงานก่อสร้าง เราจะเริ่มเข้าตรวจสอบการวางหมุด เพื่อความถูกต้องของตำแหน่งเสาเข็มก่อนเริ่มงานเสาเข็ม 5. การตรวจสอบเหล็กเสริม การทาบเหล็ก ขนาดและจำนวนเหล็กเสริม ในฐานราก เสา คาน พื้น ก่อนการปิดแบบ 6. การตรวจสอบแบบหล่อคอนกรีตก่อนเทคอนกรีต ทั้งความแข็งแรง ระดับ ดิ่ง ฉาก 7. การตรวจสอบโครงสร้างเหล็ก ขนาด ลอยเชื่อมโครงหลังคา 8. การตรวจสอบการมุงหลังคา การยึดแผ่นและวัสดุที่ใช้กันรั่วของหลังคา 9. การตรวจสอบเส้นแนวก่ออิฐ ก่อนการก่ออิฐผนัง ดิ่ง ฉาก และการติดกรงไก่กันร้าว 10. การตรวจสอบความแข็งแรงของโครงฝ้าเพดาน ระดับ และแนวการเล่นระดับตกแต่ง 11. การตรวจสอบวัสดุปูพื้นและ แนวเศษของวัสดุพื้น ระดับ Slope 12. การตรวจสอบการติดตั้งสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ 13. การตรวจสอบการติดตั้งประตู-หน้าต่าง และงานกระจก 14. การตรวจสอบการติดตั้งระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ตรวจสอบ ,โคม , ปลั๊ก , ตู้Load center , Ground lod 15. การตรวจสอบการติดตั้งระบบสุขาภิบาล การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย การติดตั้งท่ออากาศ , P-trap 16. การตรวจสอบการติดตั้งระบบประปา ด้วยการทดสอบแรงดันในท่อ 17. การเก็บความเรียบร้อยของสีและความสะอาดก่อนส่งมอบงาน

โดยทั่วไปผู้ควบคุมงานก่อสร้างจะปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูป และข้อกำหนดงานก่อสร้างรวมถึง คุณภาพวัสดุและช่างฝีมือที่ใช้ ทำการควบคุมหรือทดสอบวัสดุอุปกรณ์ ทั้งที่หน่วยงานและบางกรณีจะรวมถึงโรงงานผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้น จัดทำรายงานประจำวัน รายงานประจำสัปดาห์ และสรุปรายงานประจำเดือน สำหรับรายงานให้เจ้าของงานรับทราบสถานภาพของโครงการ ตรวจสอบปริมาณงานร่วมกับผู้รับจ้างในกรณีของการทำการเบิกจ่ายเงินค่างานระหว่างงวดหรืองวดสุดท้าย บันทึกและสรุปรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับงานเพิ่มหรือลดเพื่อเสนอเพื่อผู้มีอำนาจอนุมัติเป็นค่างานเพิ่มหรือลดตามสัญญาก่อสร้าง ประเมินผลงานจริงเทียบกับแผนงานก่อสร้างที่เสนอโดยผู้รับจ้าง เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาและแก้ไขอย่างทันท่วงทีเพื่อให้โครงการแล้วเสร็จตามกำหนด ตรวจสอบวิธีการก่อสร้าง ที่เสนอโดยผู้รับจ้าง ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจในด้านความปลอดภัยและคุณภาพของงานตามหลักวิศวกรรม ติดตามบันทึกค่าต่างๆ ที่ก่อสร้างจริง เทียบกับแบบที่ใช้ในงานก่อสร้าง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบแบบก่อสร้างเหมือนจริงที่ผู้รับจ้างจัดทำเสนอเมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ทั้งนี้การทำงานของผู้ควบคุมงาน ร่วมกับผู้รับจ้างก่อสร้างในภาคสนาม ควรจะทำงานในลักษณะให้ความร่วมมือและมีทัศนคติที่ดีต่อกัน คือผู้รับจ้างทำหน้าที่ผู้ก่อสร้างตามแบบและข้อกำหนดในขณะที่ผู้ควบคุม ช่วยในการตรวจสอบด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน คือความสำเร็จของโครงการ ความขัดแย้งในงานก่อสร้าง ผู้ทำงานคนเดียวย่อมมีความขัดแย้งน้อยที่สุด แต่ในการทำงานในชีวิตจริงโดยเฉพาะงานก่อสร้างย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้นได้เป็นปกติ โดยความขัดแย้งเหล่านี้มักมาจาก ความเข้าใจสาระในเอกสารประกอบสัญญาจ้างแตกต่างกัน ตัวเอกสารประกอบสัญญาชัดแย้งกันเอง เช่นในเงื่อนไขประกอบสัญญาระบุแตกต่างจากในแบบและข้อกำหนด ผลประโยชน์ที่ขัดกัน เช่นงานบางอย่างในโครงการก่อสร้างที่ผู้รับจ้างคิดว่าน่าจะเป็นงานเพิ่ม แต่ผู้ควบคุมงานเห็นว่าอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ควรปฏิบัติและไปปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง มานะและทิฐิ สำหรับความเข้าใจสาระในเอกสารประกอบสัญญา หรือความขัดแย้งของเอกสารข้างต้นนั้นเป็นปัญหาทางเทคนิค ซึ่งแก้ไขได้โดยการปรึกษาหารือกันโดยยึดถือหลักทางวิศวกรรม และการจัดลำดับการยอมรับของเอกสารไว้ในเงื่อนไขทั่วไปของสัญญาจ้างดังได้กล่าวมาแล้ว ส่วนในกรณีที่ความขัดแย้งเกิดจากผลประโยชน์ที่ขัดกัน ผู้ควบคุมงานจะต้องทำหน้าที่ในการแก้ปัญหา แหล่งที่มา หนังสือออกแบบบ้าน แนะนำ แบบบ้าน